วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

Keywords: dermoid cyst, benign teratoma, mature cystic teratoma, benign ovarian cyst, laparoscopic surgery
ถุงน้ำรังไข่ , เนื้องอกรังไข่, ผ่าตัดส่องกล้อง


จุดประสงค์ เพื่อคนไข้ หรือ ประชาชนโดยทั่วไป ได้ทราบถึง

1.บอกเล่าประสบการณ์ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของคนไข้ หลังจากตรวจพบ รอยโรคที่บริเวณรังไข่ด้านซ้าย โดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี
2.คลายความกังวลของผู้ป่วย ที่เป็นโรคชนิดนี้ หรือ รอยในกลุ่มโรคในกลุ่มใกล้เคียงกัน หรือ โรคที่มีวิธีการรักษา โดยการผ่าตัดส่องกล้องผ่านหน้าท้อง
3.เพื่อผู้ป่วย จะได้เตรียมตัว เตรียมใจ ทำความเข้าใจ กับวิธีการ ขั้นตอนการรักษา ทราบถึง อาการแทรกซ้อนที่ อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการผ่าตัด หลัง การผ่าตัด

โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก การได้รับความรู้จากแพทย์หญิงเจ้าของไข้ ที่เอาใจใส่ ตอบคำถามอันมากมาย ไม่รู้จบ ประกอบกับความรู้ที่ไปหาเพิ่มเติม ในแบบที่ทำความเข้าใจได้ง่ายๆ เลยอยากแบ่งปันความรู้นั้น และคลายความกังวล เตรียมตัว เตรียมใจก่อนเข้ารับการรักษา กับคนไข้ท่านอื่นๆ ต่อไป

19 ธันวาคม 2552

เช้าวันนี้ ถึงเวลาตรวจสุขภาพ ประจำปี อีกแล้วสิ เรา ปีนี้ แก่ไป อีก ปีแล้วนะ 35 ปี เฮ้อ แก่จัง

ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน ตรวจระดับน้ำตาล ในเลือด ไขมัน คลอเรสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด แดง /ขาว/เกล็ดเลือด
ตรวจการทำงานของตับ ไต ปัสสาวะ

เอกซ์เรย์ปอด ไม่ได้ ตรวจมาหลายปี คลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ไม่เคยตรวจเลย ดีนะ ตรวจซะเลย ทีเดียว อายุ ถึงเกณฑ์ ที่ต้องตรวจแล้ว

ทุกอย่างก็ปกติดี มีบ้างที่ผลไม่ค่อยน่าพอใจก็หมู่นี้แอบไปกินปลาหมึก กับ น้ำผลไม้ปั่น บ่อยๆ น้ำตาลกับไขมัน สูงนิดนึง คุณหมอแนะนำให้ใช้วิธี ดูแล เรื่องอาหาร เอาก็พอ ปีหน้าติดตามผลอีกครั้ง ยังไม่ต้องรักษาด้วยยาใดๆ

ระหว่างนั้น นึกได้ว่า ใช่สิ สองเดือนที่ผ่านมา ประจำเดือน มาน้อยผิดปกติ ทั้งปริมาณก็น้อยลง สีก็ไม่เหมือนเดิม สงสัยว่าตัวเองจะตั้งครรภ์ ตรวจกับชุดทดสอบที่มีขายก็ตั้งหลายครั้ง Negative ทุกที หลังจากใช้ชีวิตกับ คนๆนึง มานาน ถึง 5 ปี พอเริ่มไม่คุมกำเนิด มันเป็นช่วงที่มีอาการอย่างนี้พอดีเลย


ส่งตรวจปัสสาวะ เช็คการตั้งครรภ์ซ้ำ ก็เหมือนเดิม ไม่ตั้งครรภ์ ตรวจเซลมะเร็งปากมดลูก ผลจะออกอีกตั้งหลายวัน ตรวจภายใน คุณหมอพบ มดลูกโตเล็กน้อยนะค่ะ ขอส่งไปอัลตร้าซาวน์ ดูดีกว่า

ผลอัลตร้าซาวน์ ทำให้เราแทบหยุดหายใจ อะไรเนี่ย หมอพบ ก้อน ที่รังไข่ ด้าน ซ้าย ขนาด ประมาณ 5*7ซม. ครับ
เอ๊ แล้วเราจะทำงัยดี มันโตขนาดนี้ เลยหรอ เราไม่เคยมีอาการอะไรเลยนะ เรายังใช้ชีวิตปกติ เล่นกีฬา เดินทาง ทำงาน และ อาการงง ๆๆๆๆ กับชีวิตเล็กน้อย ชั้น จะทำงัยดีเนี่ย

ต้องเอาออกครับ อาจต้องผ่าตัดเปิดทางหน้าท้อง หรือ ส่องกล้องเข้าไปเอาออกมาได้ อาจต้องเอามดลูกหรือรังไข่ออก ถึงขั้นนั้นเลยหรอ ฉันยังไม่มีลูกเลย แล้วจะมีลูกได้มั้ยล่ะเนี่ย แล้วจะมีแผลแบบคลอดลูกเลย นะเนี่ยนะ ยอมไม่ได้ละ แต่เอ๊! แล้ว มันจะเป็นเนื้อดี หรือเนื้อร้ายกันหล่ะ ว่าแล้วน้ำตาก็ไหลออกมา กลัวจังเลย

นี่เป็นหนึ่งในอาการแสดงของ การมีเนื้องอกบริเวณรังไข่และมดลูก เท่านั้น ยังมีอาการอื่นๆอีกเช่น

อาการที่นำคนไข้มารพ. เพราะเนื้องอกบริเวณรังไข่ และ มดลูก ตัวอย่างเช่น
1.โดยทั่วไปมักไม่มีอาการ และพบโดยบังเอิญจากการอัลตร้าซาวน์
2.ปวดท้องเล็กน้อย
3.ท้องบวมหรือรู้สึกมีแรงดันในท้อง
4.ปวดตอนมีเพศสัมพันธ์
5.ประจำเดือนผิดปกติ รวมทั้งประจำเดือนขาดหายไป มามากผิดปกติ หรือ ปวดมาก
6.มีขนขึ้นบริเวณใบหน้าหรือร่างกาย มากผิดปกติ
7.อาจมีอาการปวดท้องแบบฉับพลัน มีไข้หากมีการบิดขั้วหรือแตก
8.อาจปวดปัสสาวะบ่อยผิดปกติ หากมีการกดทับกระเพาะปัสสาวะ

ถุงน้ำรังไข่ ( Benign ovarian cyst)
เป็นถุงที่บรรจุของเหลวที่เกิดขึ้นบริเวณรังไข่ พบได้บ่อยและมักไม่เป็นเนื้อร้าย ขนาดแตกต่างกัน ตำแหน่งที่เกิดก็แตกต่างกัน
ถุงน้ำรังไข่มักไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ และมักพบโดยบังเอิญ จากการตรวจร่างกายประจำปี ซึ่งในบางรายอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการสร้างฮอร์โมนในรังไข่ หรืออาจขยายขนาดจนมีอาการแสดงอื่นๆที่สังเกตได้
ถุงน้ำส่วนมาก จะหายไปเองได้โดยไม่ต้องรับการรักษา ยกเว้นบางรายที่ต้องอาศัยการผ่าตัดเอาถุงน้ำนั้นออก
ส่วนน้อยบางรายถุงน้ำอาจบิดขั้วหรือแตกซึ่งเป็นสาเหตุที่ต้องรับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดด่วน
ถุงน้ำรังไข่ไม่ทราบสาเหตุและไม่มีวิธีการป้องกัน

incidence and prevalence

most common ที่พบมากสุดอันดับ 1 2 3


เมื่อแผนการรักษา คือการผ่าตัด แต่จะเป็นผ่าด้วยวิธีไหน อย่างไร ก็เป็นอีกเรื่องนึง
การเจาะเลือดเพื่อประเมินความพร้อม ของร่างกายต่อการผ่าตัด จึงเริ่มขึ้นอีก

ตรวจโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส เอดส์ : negative
ตรวจไวรัสตับอักเสบ A และ C : negative มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
และสารบ่งชี้เซลมะเร็ง

CA 125 19.34 U/ml Normal 0-35 U/ml
CA 199 93.67 U/ml Normal 0-39 U/ml

Electrolyte สารน้ำ


กว่าจะเจาะเลือดครั้งสุดท้ายเสร็จ ก็เป็น เวลา เกือบ 3ทุ่ม

อาการงง ๆ ก็ยังอยู่เลย



ตกลงเราต้องผ่าเอามันออกจริงๆเหรอ คำถามซ้ำๆนี้ เกิดขึ้น ทั้งคืนเลย นอนไม่หลับเลย


คงต้องหาความเห็นจากแพทย์ อีกท่าน ดีกว่า


คงเป็นความโชคดี บนความโชคร้ายของเรา ที่ได้รับ คำแนะนำให้ไปพบแพทย์หญิง ท่านนึง

เราได้เอาผลการตรวจทั้งหมดมา ขอรับคำปรึกษา กับ ท่าน

รวมถึงผล pap smear ที่เพิ่งออก ว่า ปกติ ไม่พบเซลล์มะเร็ง

หลังจากได้รับการตรวจ วินิจฉัย อัลตร้าซาวน์ หาตำแหน่ง ขนาด และ พยาธิสภาพ ซ้ำอีกครั้งนึง

ความกังวล ที่มีอยู่ ลดลงไปได้เกินครึ่ง เพราะ จากความรู้ความสามารถของแพทย์ ในการตรวจ วินิจฉัย เบื้องต้น การหาตำแหน่ง ขนาด ลักษณะ ของรอยโรค เพื่อ วางแผนการรักษา ทำให้ได้ทราบว่า ลักษณะที่ พบ จาก ultrasound นั้น ขนาดประมาณ 4*6 ซม. ขอบเขตุชัดเจน ถุงน้ำก้อนเดี่ยว และมีลักษณะเป็นเส้นๆ ใน ถุงน้ำนั้น ซึ่งน่า จะเป็นลักษณะของ benign มากกว่า malignancy

ซึ่งลักษณะแบบนี้ นึกได้ถึง ถุงน้ำ ชนิด dermoid cyst หรืออาจเป็น endometriosis



เปรียบเทียบ benign กะ malignancy???????????

Diff diax ของโรคในกลุ่มนี้




การรักษาคือ การผ่าตัด ผ่านกล้องทางหน้าท้อง

ในปัจจุบัน การผ่าตัดทางหน้าท้องผ่านกล้องได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อดีของการผ่าตัดวิธีนี้ คือ เจ็บแผลน้อยกว่า ระยะเวลาพักฟื้นสั้น สามารถกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น แต่ยังมีข้อด้อยตรงที่ ต้องใช้เครื่องมือพิเศษทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่า และอาจใช้เวลาในการผ่าตัดนานกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับทักษะ ความชำนาญและความสามารถของทีมแพทย์และพยาบาลด้วยมักใช้การผ่าตัดชนิดนี้ ในกรณี การผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ การตัดผังผืด ตัดมดลูก ตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก และไม่ใช้ในกรณีที่เป็นมะเร็ง


ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเปิดหน้าท้องและการผ่าตัดทางหน้าท้องผ่านกล้อง ทั้ง 2 วิธี สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ไม่แตกต่างกัน ตั้งแต่ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาสลบ การจัดท่านอน เช่น หัวใจหยุดเต้น หัวใจเต้นผิดปกติ รวมถึงการบาดเจ็บของลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และหลอดเลือด

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำการผ่าตัดผ่านกล้อง เช่น เกิด Emphysema ของเนื้อเยื่อ เกิดการฉีกขาดของเส้นเลือด กระเพาะ ลำไส้ ทางเดินปัสสาวะ เกิดการเคลื่อนตัวของลำไส้ออกไปจากรอยแผลบริเวณผ่าตัด และผลข้างเคียงจากการใช้แกสคาร์บอนไดออกไซด์


โอกาสจะเกิดผลข้างเคียงจะมีน้อยมาก หากแพทย์ของท่านได้ทำการตรวจ วินิจฉัยและวางแผนการรักษามาเป็นอย่างดี หากเกิดขึ้น ท่านก็ไม่ต้องกังวลเพราะทุกกรณีแพทย์สามารถสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติ และทำการแก้ไขได้ อย่างสุดความสามารถ ขอให้ท่านให้ความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ และร่างกาย ก่อนทำการผ่าตัด ทำตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด


สรุป วิธีการรักษามีหลายวิธี อาจจำเป็นจะต้องผ่าตัดหรือไม่ก็ตาม แต่ละโรคก็มีวิธีการรักษาที่ไม่เหมือนกัน ทุกวิธีมีข้อดี ข้อด้อย แตกต่างกัน ท่านสามารถศึกษาหาความรู้ และสอบถามจากแพทย์ของท่านได้ นี่เป็นเพียงประสบการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นกับคนไข้คนนึงเท่านั้น








ข้อควรระวังคือ ถุงน้ำอาจจะแตกได้ คนไข้ส่วนนึงมาโรงพยาบาลเพราะมีอาการปวดจากการแตกของถุงน้ำได้



1 สัปดาห์ ก่อนวันนัดผ่าตัด พยาบาล จากห้องผ่าตัดโทรมา อธิบาย การเตรียมตัว โดยเฉพาะเรื่อง อาหาร
ทำความเข้าใจ และ ให้เรา ถาม คำถาม ที่เราสงสัย




เมื่อจะต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรเตรียมตัว เตรียมใจ อย่างไรดี

การเตรีมผ่าตัดโรคของมะเร็งสืบพันธุ์สตรี ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มดลูก รังไข่ เนื้องอกมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูก การหย่อยยานของมดลูก

การผ่าตัดทางนรีเวชวิทยา อาจเป็นการผ่าตัดทางหน้าท้อง หรือ ทางช่องคลอด

การเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด
1.อาหาร การเตรียมลำไส้ ให้สะอาดก่อนการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อน กากน้อย ก่อนเข้าโรงพยาบาล 7 วันโดยรับประทานในปริมาณปกติที่ทำให้อิ่มได้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังผ่าตัด
ดื่มเครื่องดื่ม (ที่ไม่มีกาก) เสริมได้
เช้าในวันที่มารพ. สามารถ ทานข้าวต้มมาได้ (ยกเว้นในรายที่มีข้อห้าม)
2.ผู้ที่มีโรคประจำตัว ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการทำการผ่าตัด เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด จำเป็นจะต้องได้รับการควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติ เพื่อไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัด และหลังการผ่าตัด จนทำให้เกิดการฟื้นตัวจากการผ่าตัดช้า และต้องนำยาที่ใช้เป็นประจำมาด้วยเนื่องจากยาเหล่านี้อาจต้องใช้จนกระทั่งเข้าห้องผ่าตัด และยาบางชนิดเช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด ยาสเตียรอยด์ บางชนิด ควรหยุด 2 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัด ทั้งนี้ ควรปรึกษากับแพทย์ของท่านด้วย


อาหารอ่อน กากน้อย ย่อยง่าย (ไม่ใส่ผัก)
เช่น โจ๊กใส่ไข่ ไก่บด
ข้าวต้มปลา กุ้ง
ข้าวต้ม หมูหยอง ไข่เจียว ไข่พะโล้
ก๋วยจั๊บ (รับประทานเฉพาะเส้น และ ไข่)
ก๋วยเตี๋ยวน้ำไก่บด ลูกชิ้น


ถึงวันนัด ซะที

12 มกราคม 2552


8.30 น.
ถึงวันนัด ผ่าตัดซะที หลังจาก พบแพทย์ที่ตึกผู้ป่วยนอก ก็ได้รับเป็นผู้ป่วยใน ติดต่อเอกสาร ตรวจสอบสิทธิการรักษา รับป้ายข้อมือที่มีชื่อเรา ลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยใน ก็เดินทางไป ward ทันที

10.00 น.
พยาบาลก็ดี๊ ดี บอกให้เราพักผ่อน สักแป๊บ ให้หายเหนื่อย หลังจากเดินมาไกล มีเอกสาร ต้องกรอกประมาณ 4 ใบ ประกอบด้วย ใบยินยอมรับการรักษา กรณีเป็นเด็ก ก็ให้ผู้ปกครองเซ็นแทนได้ เอกสารขอใบรับรองแพทย์ เพื่อใช้ลางาน หรือ เบิกค่ารักษาจากบริษัทประกัน เอกสารจากบริษัทประกัน




ยังไม่อยากเปลี่ยนชุดเลย อยากออกไปเดินเล่น ไปหอสมุด อ่านหนังสือ ตามประสา พวกไม่อยู่สุข

ได้แต่นั่งเล่น เปิดทีวี ฟังข่าว ออกแบบ ตกแต่ง ห้อง ที่คอนโด เบื่อล่ะ ทำอะไรดี

11.00 น.
เอาล่ะเริ่มต้น เตรียมร่างกาย พยาบาลมาแว้ว มาพร้อมกับยาถ่าย ลักษณะของเหลวหนืดเล็กน้อย คล้ายๆเจล ปริมาณ 80 ซี ซี รสชาติและกลิ่น สุดยอดดดดด ขอบอก ใครที่เคยเกลียดมะระ ตอนนี้จะรู้สึกว่ามะระ มัน หวานมาก กว่าเราจะกล้ำกลืน ฝืนทน กินมันหมด ใช้เวลาตั้ง 15 นาที ต้องกินน้ำตามเยอะๆ ด้วยนะ อ้อ แล้วต้องกินน้ำ เยอะๆ ทุก ชั่วโมงนะ

11.30 น.
อาหารเที่ยงมาแล้วเป็นอาหารเหลว ใส เป็น น้ำซุปผัก น้ำหวาน และ ขนมเยลลี่ ว๊า ไม่หิว ไม่น่ากินเลย ไม่กินดีกว่า

12.30 น.
อยากอ๊วก แทนอยากถ่าย กลิ่นและรสชาติ ยาถ่าย ยังติด อยู่ที่ลิ้นและ คอเลย

13.15 น.
ยาถ่ายเริ่มออกฤทธิ์ รอบแรกก็เหลวเป็นน้ำเลย เพราะก็หน้านี้ ก็เตรียมความพร้อมร่างกาย โดยการ กินอาหาร อ่อน กากน้อย มาล่วงหน้า 5 วัน จริงๆ คุณหมอแนะนำว่า 2 วันก็พอ ด้วยความตั้งใจ เลยแถม ให้ อีก 3 วัน

13.40 น.
รอบที่ 2 เหลวเหมือนฉี่เลย ยังมีกาก อาหาร ปนออกมา ด้วยเลย
14.00 น.
รอบที่ 3 เหลวเหมือนฉี่เลย
14.30 น.
พยาบาลมาเจาะเลือด ไว้ไปเตรียมเลือดจากคลังเลือด ที่ เข้ากันได้กับเลือดเรา เตรียมไว้ ในกรณี ต้องได้รับเลือด ในขณะรับการผ่าตัด
15.08 น.
รอบที่ 4
15.34 น.
รอบที่ 5
16.00 น.
พยาบาลจาก OR มาคุยด้วย น่ารักมาก สงสัยกลัวเรากลัว การผ่าตัด มาอธิบายขั้นตอนกับรายละเอียดการรักษาให้เราฟัง
16.30 น.
รอบที่ 6
ยาถ่ายมาอีกแล้ว อยากจะเอาไปเททิ้ง ไม่ได้สิ ต้องอดทน คราวนี้ เราเอาน้ำหวานที่แอบเก็บไว้ ตอนเที่ยง มาผสม แต่ มันแทบไม่มีประโยชน์เลยไม่สามารถกลบกลิ่นและรสชาติได้ กว่าจะกินหมดรอบนี้ ปาไป ครึ่งชั่วโมง
16.50 น. - 17.12 น.
รอบที่ 7-10 เริ่มไม่มีกากอาหาร ท้องไส้ปั่นป่วน มากเลย เหมือนประจำเดือนจะมา เอ๊ จะได้ ผ่าตัดมั้ยเนี่ย
อาหารเย็น เหลว-ใส อีกมื้อนึง

17.25 น.
นิสิตแพทย์ประจำบ้านภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา วิสํญญีวิทยา และ อายุรศาสตร์ มาช่วยกันประเมินความพร้อมของร่างกาย การตรวจ ร่างกาย ก่อนการผ่าตัด
17.35 น. – 18.10 น.
รอบที่ 11-14 กลายเป็นน้ำสีเหลืองๆ ใสๆ กากอาหารน้อยมากเลย
18.30 น. - 19.20 น.
รอบที่ 15- 18 รอบที่ 18 มีหลักฐานไว้ด้วย
19.30 น.
พยาบาลมาตามไปเตรียมร่างกายเฉพาะที่ กรณีที่ผ่าตัดทางหน้าท้อง โดยเตรียมผิวหนังบริเวณที่ทำการผ่าตัด โดยจะโกนขน ตั้งแต่ใต้ลิ้นปี่จนถึงหน้าขาอ่อนทั้ง 2 ข้าง
ส่วนในกรณีที่มีการผ่าตัดผ่าน ทางช่องคลอด โดยเตรียมผิวหนังบริเวณที่ทำการผ่าตัด โดยจะโกนขน ตั้งแต่ใต้สะดือไปถึงขาอ่อนทั้ง 2 ข้าง

และ การผ่าตัดทั้ง สองวิธี ดังกล่าว จะต้องสวนล้างช่องคลอดเพื่อความสะอาด และลด แบคทีเรียในช่องคลอด และเป็นการป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด ช่วงเย็น และ เช้า ก่อนเข้าห้องผ่าตัดอีกครั้งนึง

การเตรียมร่างกายก่อนผ่าตัด
1.อาบน้ำ





19.58 น.- 20.08 น.
รอบที่ 18-20 มันเหมือนฉี่ นี่เอง

22.00 น.
พยาบาลเอายานอนหลับมาให้ เพื่อจะได้พักผ่อน นอนหลับ สนิท ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องทานยานอนหลับใครที่หลับง่ายไม่ค่อยกังวลก็ไม่จำเป็นต้องกิน เรารู้สึกเหมือนจะหลับแล้วไม่กินดีกว่า เลยอ่านหนังสือเล่น ฟังข่าว ปิดไฟนอนดีกว่า คนเฝ้าเราก็หลับแล้ว
หลับตาดีกว่า

0.30 น.
อ่านหนังสือยังก็ไม่ง่วง มองนาฬิกา มองยานอนหลับ อยากจะกิน แต่เอ๊ เลยเที่ยงคืนแล้ว ต้องงดน้ำ งดอาหาร ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารเข้าไปในหลอดลม หรือคลื่นไส้อาเจียน

ประจำเดือนมันเริ่มมา แล้ว แล้ว จะได้ผ่าตัด มั้ยเนี่ย นี่ถ้าให้กลับมากินยาถ่ายอีกรอบ เนี่ย คงมีการหนีโรงพยาบาลบ้างล่ะ

นอนหลับๆตื่นๆ ตลอดคืน ไม่ง่วง ไม่เพลีย ตื่นเช้ามา อาบน้ำ เตรียมตัว ไปห้องผ่าตัด

8.30 น.
เปลี่ยนเป็นชุด ฆ่าเชื้อเพื่อเข้าห้องผ่าตัด และกินยานอนหลับ(Dormigum mg tabs) เพื่อให้เราคลายกังวล เพราะเราไม่ชอบบรรยากาศการรอบริเวณหน้าห้องผ่าตัดเลย ทุกคนไม่จำเป็นจะต้องกินยานอนหลับก่อนไปห้องผ่าตัดนะ ขึ้นกับสภาวะของคนไข้แต่ละคนด้วย ใครมีความกังวล มาก ก็อาจจำเป็นต้องกิน

9.00 น.
เริ่มง่วงนิดนึง พยาบาลเอาที่กั้นเตียง ขึ้นมากันเราตก รอบคอบดีจัง

9.05 น.
ไป OR

9.15 น.
วิสํญญีแพทย์ มาเจาะเส้นเลือด ให้น้ำเกลือ


10.00 น.
เข้าห้องผ่าตัด เราก็แค่รู้สึกง่วงๆนิดหน่อย
บริเวณศรีษะทางขวา มีเครื่องดมยาสลบอยู่ วิสัญญีแพทย์กำลังเตรียมเครื่องอยู่
บริเวณศรีษะทางซ้าย มีเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดัน อยู่ เริ่มติดเรื่องมือกับตัวเรา
บริเวณปลายเท้าทางซ้ายมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับการส่องกล้องผ่าตัดอยู่ เห็นถังแกสคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย


10.10 น.
คุณหมอคนเก่งมาแล้ว เดินมาทางด้านซ้ายของเรา เราหันไปสวัสดีแล้วบอกว่า ประจำเดือนมันมาค่ะ ได้ยินคุณหมอตอบว่าไม่เป็นไรค่ะ คาดว่าพยายาลจาก ward น่าจะรายงานแล้ว ยานอนหลับเริ่มออกฤทธิ์ เราก็ง่วงๆ สักพัก
เงยหน้ามาเห็น O2 mask กับหน้าวิสัญญีแพทย์รางๆ แล้วเราก็หลับไป

12.10 น.
คุณ ....... ค่ะ เสียงพยาบาลปลุก ที่ห้อง recovery room เสียงจากไหนนะ เสียงหวานเชียว กำลังสลึมสลือหลับๆตื่นๆอยู่ประมาณ 20 นาที เจ็บคอนิดเดียวจากการใส่ท่อช่วยหายใจ ปวดแผลนิดนึง เวียนหัวเล็กน้อย ไม่คลื่นไส้
สักพักพยาบาลเอายาแก้ปวด(Morphine) มาฉีดให้ทางน้ำเกลือ ได้เวลาเดินทางกลับ ward


หลังการผ่าตัด บางคนอาจมี อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ
อาจมีอาการปวดไหล่ เล็กน้อย ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงจากการใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป่าลงไปในช่องท้องเพื่อให้เห็นอวัยวะภายในช่องท้องชัดเจน และมีพื้นที่ทำงาน
ถ้าแบ่งความปวดด้วยความรู้สึกของตัวเอง โดยมีระดับ1-10 ไม่ปวดเลยได้ระดับหนึ่ง ปวดมากที่สุดได้ระดับ 10 ตอนนี้ เราให้ระดับอาการปวดเท่ากับ 2



12.25 น.
กลับมาถึง ward คำถามแรกที่ถามพยาบาลคือมีสายสวนปัสสาวะติดมาด้วยหรือไม่ คำตอบคือ ไม่มีค่ะ
ทำซ่าอยากลุกขึ้น รู้สึกเวียนหัวหน่อยเดียว พยาบาลกับน้าห้ามไว้ บอกว่ารอตอนเย็นๆล่ะกัน
ได้ยาแก้ปวดทางน้ำเกลืออีกครั้ง ระดับการปวด ลดลงไปเหลือ 0-1

15.00 น.
ลุกไปห้องน้ำ ยังเป็นชุดจากห้องผ่าตัดอยู่เลย ยังขี้เกียจเปลี่ยน เดี๋ยวก่อนนะ

17.00น.
เปลี่ยนชุดคนไข้สีฟ้าๆ กะผ้าถุงตัวใหญ่ๆ มีญาติมาเยี่ยมเต็มห้องเลย แหมของฝากเยอะนะ กินไม่ได้สักอย่าง
ดีนะที่ไม่อยากกินอะไรเลย นึกถึงตอนกินยาถ่ายก็ไม่อยากกินอะไรลงกระเพาะไปอีกนาน

อ่านหนังสือ โชว์พุง กะ อธิบาย ที่คุณหมอเล่ามา คำถามที่ เกือบทุกคนถาม เอาออกมาได้งัย รูแค่ เซน เดียว
นั่นสิเราก็อยากรู้เหมือนกัน


19.00 น.
พยาบาลมาฉีดยาปฏิชีวนะ ทางเส้นเลือด น้ำเกลือหมดแล้ว 1 ขวด เปลี่ยนขวดใหม่ เริ่มจิบน้ำได้แล้วนะ

21.00 น.
น้องรักมาแว้ววว
สั่งของไปเพียบเลย แม้กระทั่งหมอนกับกางเกงนอน รีบเปลี่ยนกางเกง ก็ใส่ผ้าถุงไม่เป็นอ่ะ ก็ลมมันเย็น
ไม่ง่วงเลย สักพัก ญาติๆ ทยอยกลับ ดูทีวี ดูข่าว อ่านหนังสือ คนเฝ้าหลับไปแล้ว กรนด้วย แอบถ่ายรูปไว้ เรายัง
ไม่ง่วงเลย อ่านหนังสือไปเรื่อยๆ จนกระทั่งดึก หลับๆตื่นๆ ไปตลอด คืน แต่ไม่ ง่วง ไม่เพลียเลยนะ ลุกไปเข้าห้องน้ำประมาณ 2 ครั้ง ไปเองได้ ไม่ต้องปลุก ใครน้ำเกลือไปเข้าห้องน้ำด้วย


05.00 น.
พยาบาลมาฉีดยาปฏิชีวนะ ทางเส้นเลือด เสร็จแล้วก็เอา น้ำเกลือออก


จากนั้นก็ อ่านหนังสือ ดูทีวี ฟังข่าว เขียนต้นฉบับ



ได้ยินเสียงคล้ายท้องร้อง นั่นละ อย่าเพิ่งทานอะไรนะ เพราะเมื่อมีการผ่าตัดช่องท้อง ลำไส้จะหยุดการทำงานไประยะหนึ่ง จนกว่าคุณหมอจะเอาฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ผ่านหูฟัง เสียงของกระเพาะกับลำไส้กำลังเริ่มทำงาน มีผายลม2-3 ครั้ง แล้ว ดีนะ มีแต่ลม ยังไม่มีกลิ่น เราก็สามารถเริ่มจิบน้ำ ทานอาหารเหลว -ข้น - อ่อน ได้ ระวังท้องอืด อย่ากินเยอะนะ






ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัด ภายใน 24 ชม.






7.45 น.
คุณหมอคนเก่งมาเยี่ยม แต่เช้าเลย คุณหมอใจดี อธิบายเราอีกเพียบเลย เช่น ทำไมมี 4 รู รูด้านซ้ายใหญ่หน่อยนะ 1 เซน แล้วกับคำถามยอดฮิต ที่ใครๆก็ถามเราว่า รู 1 เซน ถุงน้ำ 4*6 เซน จะเอาออกยังงัย อยากรู้ใช่มั้ย??????
ต่ำแหน่งที่ตั้ง สัมพันธ์กับท่อนำไข่และรังไข่อย่างไร ขนาด ประมาณ 4*6 ซม. ไม่สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม
มดลูกยังดูปกติดี ปีกมดลูกก็ยังปกติ ดี น่าจะมีลูกได้นะ แล้วจะแต่งงานเมื่อไหร่เนี่ย?????????????
โห คำถามนี้ตอบยากมากเลย เราใช้ชีวิตอิสระแบบนี้มานาน ทำเหมือนโสดแต่ไม่โสด แล้วกับคนที่แตกต่างกับเราทุกๆอย่างจะอยู่ด้วยกันตลอดชีวิตได้อย่างไร เราเองก็ยังไม่มั่นใจ
จากนั้นคุณหมออธิบายถึงตำแหน่งในการยืนของคุณหมอ และพยาบาล ในขณะผ่าตัด
พักผ่อนสัก 1 เดือนพอมั้ย โห ตายล่ะ เราว่าเราหายแล้วนะเนี่ย อยากกลับไปทำงานแล้ว
โรคนี้ก็ไม่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งทรวงอก (คุณยายเรา เสียชีวิตด้วยโรคนี้ เราก็กลัวๆอยู่เหมือนกัน)
แต่อาจสัมพันธ์กับการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ









9.15 น.
อาหารมื้อแรกหลังผ่าตัด เป็นอาหาร ชนิด เหลว-ข้น ประกอบด้วย โอวัลตินร้อน ซุปครีมข้น น้ำผลไม้ และ ไข่ต้ม จิบโอวัลตินไปหน่อยเดียว อยากกลับบ้านแล้ว ให้น้องไปรอเอกสาร จ่ายตังค์ และต้องรีบโทรศัพท์ กับส่ง Massage ไปบอกบรรดา พี่ๆ น้องๆ ร่วมอาชีพ ที่จะมาวันนี้ พรุ่งนี้ และวันศุกร์ ว่าไม่ต้องมา เหลือรายเดียว น้องรหัส ที่รัก บอกว่า ใกล้จะมาถึงแล้ว ขนของฝากมาแล้วด้วย โอเค รอก็ได้ 10 โมง เจอกันนะ
ระดับอาการปวดตอนนี้ เท่ากับ 0


10.00 น.
น้องรหัสมาพร้อมเสื้อ กะ Scott รังนก โชว์พุงให้ดู คุยกันพักหนึ่ง ก็ได้เวลาพร้อมกลับบ้าน คราวนี้ได้ที ใช้คนอื่นใหญ่เลย ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ ก็คุณหมอห้ามยกของหนัก ขนของใส่รถเข็น กลับบ้านซะที

ยาที่ได้รับกลับบ้าน
1.Dioxzye( Simethicone,sugar free) 80 มก. 20 เม็ด
เคี้ยว ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น
เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ(ยาตัวเดียวกับ Air X )
2.Arcoxia (EtoricoxibX) 120 มก. 5 เม็ด
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครัง หลังอาหารเช้า
ควรรับประทานยานี้หลังอาหารทันที
ยาแก้ปวด ลดการอักเสบ
3.Siamox( Amoxycillin) 500 มก. 30 แคปซูล
รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครัง หลังอาหารเช้า เย็น
รับประทานติดต่อกันจนหมด
ยาแก้อักเสบ ฆ่าเชื้อ


ยาหลังอาหาร
ควรรับประทานหลังอาหาร 15 นาที ถึงครึ่งชั่วโมง
ยาปฎิชีวนะ
ควรรับประทานให้หมดเพราะ หากท่านทานไม่หมดแล้ว ครั้งต่อไปที่ท่านจำเป็นจะต้องได้รับยาตัวนี้ในการรักษา เชื้อก็จะดื้อยา ยาชนิดนี้ก็จะไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาอีกต่อไป ต้องเปลี่ยนไปใช้ตัวยาชนิดอื่น ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นและรักษายากขึ้นไปเรื่อยๆ ยกเว้น ท่านมีอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นขึ้นตามตัว มีจ้ำที่ผิวหนังหน้ามืด แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือ ใจสั่น ให้หยุดยา และนำยานั้นมาปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ทันที และไม่เก็บยาไว้ในที่อับชื้นหรือแสงแดดส่องถึง






ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัด 24-48 ชม.




ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัด 2-4 สัปดาห์
ข้อห้ามหลังการผ่าตัด
ห้ามยกของหนัก



11.00 น.
กลับมาบ้าน ไล่ทุกคนให้ไปทำงานหมดเลย เสียเวลากับเรามาเยอะละ วันนี้เลยอยู่บ้านคนเดียว
เริ่มหิวแล้ว ทานน้ำเต้าหู้ ขนมปังไส้กรอก ไม่มียามื้อกลางวันนี่นา แล้วก็ไม่ปวด เลยไม่ต้องกินยาแก้ปวด
ไม่ต้องทานเยอะ ท้องก็จะได้ไม่อืดค่ะ


24 ชม.หลังผ่าตัด

48 ชม.หลังผ่าตัด






1 สัปดาห์ หลังผ่าตัด


2 สัปดาห์ หลังผ่าตัด

1 เดือน หลังผ่าตัด

คำแนะนำ
1.ทำตามคำแนะนำของคุณหมอ และ พยาบาล อย่างเคร่งครัด อดทนนิดนึงนะคะ
2.เชื่อมั่นและไว้ใจ กับแผนการรักษาหลังจากที่เราได้ข้อมูลต่างๆอย่างครบถ้วนแล้ว เรามีสิทธิที่จะหาความรู้ เกี่ยวกับโรค วิธีการรักษากับแพทย์มากกว่า 1 ท่านเพื่อประกอบการตัดสินใจได้
3.การออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ท่านฟื้นตัวเร็วยิ่งขึ้น


สำหรับเรา สิ่งที่รู้สึกแย่สุดๆ คือ การกินยาถ่าย ทั้งกลิ่นและรสชาติ หลังจากเราหายแล้ว มะระขี้นกที่เราเกลียดนักเกลียดหนา กลายเป็นว่าเราทานมันได้ง่ายขึ้นมาก ก็นึกซะดี ดีแล้ว นึกว่า มาทำดีทอกซ์ ละกัน กำลังอินเทรนด์ พอดี
การเจาะเลือด น่ากลัวกว่า การผ่าตัดแบบนี้ซะอีก แต่เราก็เป็นคนไข้ที่ไม่ดีเลย เกิดอาการเกร็งทุกครั้งเมื่อโดนเจาะเลือด ก็มันกลัวนี่นา ห้ามไม่ได้หรอก สำหรับอาการปวดหลังผ่าตัด เกิดน้อยมาก ปวดน้อยกว่าไปเล่นโยคะหรือฟิตเนส เป็นสิบเท่าเลย



นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของขั้นตอนและวิธีการรักษาเท่านั้น กรณีรอยโรคอื่นๆจะมีปัจจัยมากมายทั้งอาการ พยาธิสภาพ ขนาด ตำแหน่ง ที่ต่างกัน ฉะนั้น การวางแผนการรักษาและวิธีการรักษาจึงอาจแตกต่างกัน โปรดสอบถามรายละเอียดจากแพทย์ของท่าน เพราะไม่จำเป็นว่าโรคชนิดเดียวกันหรือคล้ายๆกัน จะมีวิธีรักษาเหมือนกัน


สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่าน ดูแลสุขภาพร่างกาย หากมีความผิดปกติที่เกิดขึ้น โปรดอย่าอาย กรุณาไปพบแพทย์ ให้เร็วที่สุด เพื่อขอคำปรึกษา ให้ข้อมูลเป็นจริงทุกอย่างเพื่อได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว เชื่อมั่นในการรักษา ทำตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล การรักษาได้อย่างทันท่วงที ก็จะทำให้ท่านกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ต้องต้องทนทุกข์ทรมานทั้งกายและใจอีกต่อไป



ขอขอบคุณ

อ.พญ. ทัศน์วรรณ รังรักษ์ศิริวร
นิสิตแพทย์ประจำบ้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา วิสํญญีวิทยา และ อายุรศาสตร์
พยาบาล ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่ ห้องผ่าตัด
พยาบาล ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่ หอผู้ป่วย ตึก นวมินทราชินี 9
พยาบาล ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่ คลินิก นรีเวชกรรม ภปร 7 , 8
พยาบาล ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่ คลินิก พิเศษ ภปร 13

















อยากทราบมั้ยว่า
1.ถุงน้ำ ขนาด 4*6 ซม. แต่แผลที่ใหญ่สุด ขนาด 1 ซม. แล้ว คุณหมอ เอาออกได้อย่างไร




2. การที่สารบ่งชี้เซลมะเร็งมีค่าสูงกว่าค่าปกติ ไม่ได้หมายความว่าจะ เป็นมะเร็งเสมอไป
สารบ่งชี้เซลมะเร็ง CA 125
ในผู้ป่วยอายุน้อย ไม่สามารถบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งได้ เนื่องจาก สามารถพบ CA 125 เพิ่มขึ้นในกรณี ที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เนื้องอกชนิด เดอมอยด์ การตั้งครรภ์ หรือ ปีกมดลูกอักเสบ




3. Dermoid cyst


เมื่อเราหายดีแล้วเราก็จะได้มีกำลังใจ ในการรักษาคนไข้ของเราต่อไป

ส่งความรู้สึกดีๆเหล่านี้ไปเรื่อยๆ โลกใบนี้ของเราจะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้น




ขอมอบเงินรายได้ทั้งหมดให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นกองทุนในการรักษาคนไข้ยากจนต่อไป เพราะเราได้คุยกับคนๆหนึ่งในขณะที่รอหน้าห้องตรวจวันก่อนผ่าตัด เธอทราบว่าเธอมีผังผืดที่มดลูกมานาน 3-4 ปีแล้ว
เมื่อเธอทราบว่าค่ารักษาประมาณ 2 หมื่นบาท และเธอไม่มีสิทธิใดๆในการรักษาเลย เธอเลือกที่จะหนีไป จนกระทั่งวันนี้อาการของเธอรุนแรงขึ้น มีเลือดออกตลอดเวลา เธอเลยกลับมาอีกครั้ง ทั้งๆที่การหนีไปไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น มีแต่อาการแย่ลงและรักษายากขึ้น นั่นเป็นเพราะการไม่มีเงินรักษาตัว สงสารเธอจัง คงมีคนแบบนี้อีก ลำพังตัวเราคงไม่มีปัญหา แต่คนอื่นสิ เราจะช่วยเขากันได้อย่างไรดี ??????????


Keywords: dermoid cyst, benign teratoma, mature cystic teratoma, benign ovarian cyst, laparoscopic surgery
ถุงน้ำรังไข่ , เนื้องอกรังไข่, ผ่าตัดส่องกล้อง


จุดประสงค์ เพื่อคนไข้ หรือ ประชาชนโดยทั่วไป ได้ทราบถึง

1.บอกเล่าประสบการณ์ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของคนไข้ หลังจากตรวจพบ รอยโรคที่บริเวณรังไข่ด้านซ้าย โดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี
2.คลายความกังวลของผู้ป่วย ที่เป็นโรคชนิดนี้ หรือ รอยในกลุ่มโรคในกลุ่มใกล้เคียงกัน หรือ โรคที่มีวิธีการรักษา โดยการผ่าตัดส่องกล้องผ่านหน้าท้อง
3.เพื่อผู้ป่วย จะได้เตรียมตัว เตรียมใจ ทำความเข้าใจ กับวิธีการ ขั้นตอนการรักษา ทราบถึง อาการแทรกซ้อนที่ อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการผ่าตัด หลัง การผ่าตัด

โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก การได้รับความรู้จากแพทย์หญิงเจ้าของไข้ ที่เอาใจใส่ ตอบคำถามอันมากมาย ไม่รู้จบ ประกอบกับความรู้ที่ไปหาเพิ่มเติม ในแบบที่ทำความเข้าใจได้ง่ายๆ เลยอยากแบ่งปันความรู้นั้น และคลายความกังวล เตรียมตัว เตรียมใจก่อนเข้ารับการรักษา กับคนไข้ท่านอื่นๆ ต่อไป

19 ธันวาคม 2552

เช้าวันนี้ ถึงเวลาตรวจสุขภาพ ประจำปี อีกแล้วสิ เรา ปีนี้ แก่ไป อีก ปีแล้วนะ 35 ปี เฮ้อ แก่จัง

ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน ตรวจระดับน้ำตาล ในเลือด ไขมัน คลอเรสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด แดง /ขาว/เกล็ดเลือด
ตรวจการทำงานของตับ ไต ปัสสาวะ

เอกซ์เรย์ปอด ไม่ได้ ตรวจมาหลายปี คลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ไม่เคยตรวจเลย ดีนะ ตรวจซะเลย ทีเดียว อายุ ถึงเกณฑ์ ที่ต้องตรวจแล้ว

ทุกอย่างก็ปกติดี มีบ้างที่ผลไม่ค่อยน่าพอใจก็หมู่นี้แอบไปกินปลาหมึก กับ น้ำผลไม้ปั่น บ่อยๆ น้ำตาลกับไขมัน สูงนิดนึง คุณหมอแนะนำให้ใช้วิธี ดูแล เรื่องอาหาร เอาก็พอ ปีหน้าติดตามผลอีกครั้ง ยังไม่ต้องรักษาด้วยยาใดๆ

ระหว่างนั้น นึกได้ว่า ใช่สิ สองเดือนที่ผ่านมา ประจำเดือน มาน้อยผิดปกติ ทั้งปริมาณก็น้อยลง สีก็ไม่เหมือนเดิม สงสัยว่าตัวเองจะตั้งครรภ์ ตรวจกับชุดทดสอบที่มีขายก็ตั้งหลายครั้ง Negative ทุกที หลังจากใช้ชีวิตกับ คนๆนึง มานาน ถึง 5 ปี พอเริ่มไม่คุมกำเนิด มันเป็นช่วงที่มีอาการอย่างนี้พอดีเลย


ส่งตรวจปัสสาวะ เช็คการตั้งครรภ์ซ้ำ ก็เหมือนเดิม ไม่ตั้งครรภ์ ตรวจเซลมะเร็งปากมดลูก ผลจะออกอีกตั้งหลายวัน ตรวจภายใน คุณหมอพบ มดลูกโตเล็กน้อยนะค่ะ ขอส่งไปอัลตร้าซาวน์ ดูดีกว่า

ผลอัลตร้าซาวน์ ทำให้เราแทบหยุดหายใจ อะไรเนี่ย หมอพบ ก้อน ที่รังไข่ ด้าน ซ้าย ขนาด ประมาณ 5*7ซม. ครับ
เอ๊ แล้วเราจะทำงัยดี มันโตขนาดนี้ เลยหรอ เราไม่เคยมีอาการอะไรเลยนะ เรายังใช้ชีวิตปกติ เล่นกีฬา เดินทาง ทำงาน และ อาการงง ๆๆๆๆ กับชีวิตเล็กน้อย ชั้น จะทำงัยดีเนี่ย

ต้องเอาออกครับ อาจต้องผ่าตัดเปิดทางหน้าท้อง หรือ ส่องกล้องเข้าไปเอาออกมาได้ อาจต้องเอามดลูกหรือรังไข่ออก ถึงขั้นนั้นเลยหรอ ฉันยังไม่มีลูกเลย แล้วจะมีลูกได้มั้ยล่ะเนี่ย แล้วจะมีแผลแบบคลอดลูกเลย นะเนี่ยนะ ยอมไม่ได้ละ แต่เอ๊! แล้ว มันจะเป็นเนื้อดี หรือเนื้อร้ายกันหล่ะ ว่าแล้วน้ำตาก็ไหลออกมา กลัวจังเลย

นี่เป็นหนึ่งในอาการแสดงของ การมีเนื้องอกบริเวณรังไข่และมดลูก เท่านั้น ยังมีอาการอื่นๆอีกเช่น

อาการที่นำคนไข้มารพ. เพราะเนื้องอกบริเวณรังไข่ และ มดลูก ตัวอย่างเช่น
1.โดยทั่วไปมักไม่มีอาการ และพบโดยบังเอิญจากการอัลตร้าซาวน์
2.ปวดท้องเล็กน้อย
3.ท้องบวมหรือรู้สึกมีแรงดันในท้อง
4.ปวดตอนมีเพศสัมพันธ์
5.ประจำเดือนผิดปกติ รวมทั้งประจำเดือนขาดหายไป มามากผิดปกติ หรือ ปวดมาก
6.มีขนขึ้นบริเวณใบหน้าหรือร่างกาย มากผิดปกติ
7.อาจมีอาการปวดท้องแบบฉับพลัน มีไข้หากมีการบิดขั้วหรือแตก
8.อาจปวดปัสสาวะบ่อยผิดปกติ หากมีการกดทับกระเพาะปัสสาวะ

ถุงน้ำรังไข่ ( Benign ovarian cyst)
เป็นถุงที่บรรจุของเหลวที่เกิดขึ้นบริเวณรังไข่ พบได้บ่อยและมักไม่เป็นเนื้อร้าย ขนาดแตกต่างกัน ตำแหน่งที่เกิดก็แตกต่างกัน
ถุงน้ำรังไข่มักไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ และมักพบโดยบังเอิญ จากการตรวจร่างกายประจำปี ซึ่งในบางรายอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการสร้างฮอร์โมนในรังไข่ หรืออาจขยายขนาดจนมีอาการแสดงอื่นๆที่สังเกตได้
ถุงน้ำส่วนมาก จะหายไปเองได้โดยไม่ต้องรับการรักษา ยกเว้นบางรายที่ต้องอาศัยการผ่าตัดเอาถุงน้ำนั้นออก
ส่วนน้อยบางรายถุงน้ำอาจบิดขั้วหรือแตกซึ่งเป็นสาเหตุที่ต้องรับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดด่วน
ถุงน้ำรังไข่ไม่ทราบสาเหตุและไม่มีวิธีการป้องกัน

incidence and prevalence

most common ที่พบมากสุดอันดับ 1 2 3


เมื่อแผนการรักษา คือการผ่าตัด แต่จะเป็นผ่าด้วยวิธีไหน อย่างไร ก็เป็นอีกเรื่องนึง
การเจาะเลือดเพื่อประเมินความพร้อม ของร่างกายต่อการผ่าตัด จึงเริ่มขึ้นอีก

ตรวจโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส เอดส์ : negative
ตรวจไวรัสตับอักเสบ A และ C : negative มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
และสารบ่งชี้เซลมะเร็ง

CA 125 19.34 U/ml Normal 0-35 U/ml
CA 199 93.67 U/ml Normal 0-39 U/ml

Electrolyte สารน้ำ


กว่าจะเจาะเลือดครั้งสุดท้ายเสร็จ ก็เป็น เวลา เกือบ 3ทุ่ม

อาการงง ๆ ก็ยังอยู่เลย



ตกลงเราต้องผ่าเอามันออกจริงๆเหรอ คำถามซ้ำๆนี้ เกิดขึ้น ทั้งคืนเลย นอนไม่หลับเลย


คงต้องหาความเห็นจากแพทย์ อีกท่าน ดีกว่า


คงเป็นความโชคดี บนความโชคร้ายของเรา ที่ได้รับ คำแนะนำให้ไปพบแพทย์หญิง ท่านนึง

เราได้เอาผลการตรวจทั้งหมดมา ขอรับคำปรึกษา กับ ท่าน

รวมถึงผล pap smear ที่เพิ่งออก ว่า ปกติ ไม่พบเซลล์มะเร็ง

หลังจากได้รับการตรวจ วินิจฉัย อัลตร้าซาวน์ หาตำแหน่ง ขนาด และ พยาธิสภาพ ซ้ำอีกครั้งนึง

ความกังวล ที่มีอยู่ ลดลงไปได้เกินครึ่ง เพราะ จากความรู้ความสามารถของแพทย์ ในการตรวจ วินิจฉัย เบื้องต้น การหาตำแหน่ง ขนาด ลักษณะ ของรอยโรค เพื่อ วางแผนการรักษา ทำให้ได้ทราบว่า ลักษณะที่ พบ จาก ultrasound นั้น ขนาดประมาณ 4*6 ซม. ขอบเขตุชัดเจน ถุงน้ำก้อนเดี่ยว และมีลักษณะเป็นเส้นๆ ใน ถุงน้ำนั้น ซึ่งน่า จะเป็นลักษณะของ benign มากกว่า malignancy

ซึ่งลักษณะแบบนี้ นึกได้ถึง ถุงน้ำ ชนิด dermoid cyst หรืออาจเป็น endometriosis



เปรียบเทียบ benign กะ malignancy???????????

Diff diax ของโรคในกลุ่มนี้




การรักษาคือ การผ่าตัด ผ่านกล้องทางหน้าท้อง

ในปัจจุบัน การผ่าตัดทางหน้าท้องผ่านกล้องได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อดีของการผ่าตัดวิธีนี้ คือ เจ็บแผลน้อยกว่า ระยะเวลาพักฟื้นสั้น สามารถกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น แต่ยังมีข้อด้อยตรงที่ ต้องใช้เครื่องมือพิเศษทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่า และอาจใช้เวลาในการผ่าตัดนานกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับทักษะ ความชำนาญและความสามารถของทีมแพทย์และพยาบาลด้วยมักใช้การผ่าตัดชนิดนี้ ในกรณี การผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ การตัดผังผืด ตัดมดลูก ตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก และไม่ใช้ในกรณีที่เป็นมะเร็ง


ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเปิดหน้าท้องและการผ่าตัดทางหน้าท้องผ่านกล้อง ทั้ง 2 วิธี สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ไม่แตกต่างกัน ตั้งแต่ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาสลบ การจัดท่านอน เช่น หัวใจหยุดเต้น หัวใจเต้นผิดปกติ รวมถึงการบาดเจ็บของลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และหลอดเลือด

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำการผ่าตัดผ่านกล้อง เช่น เกิด Emphysema ของเนื้อเยื่อ เกิดการฉีกขาดของเส้นเลือด กระเพาะ ลำไส้ ทางเดินปัสสาวะ เกิดการเคลื่อนตัวของลำไส้ออกไปจากรอยแผลบริเวณผ่าตัด และผลข้างเคียงจากการใช้แกสคาร์บอนไดออกไซด์


โอกาสจะเกิดผลข้างเคียงจะมีน้อยมาก หากแพทย์ของท่านได้ทำการตรวจ วินิจฉัยและวางแผนการรักษามาเป็นอย่างดี หากเกิดขึ้น ท่านก็ไม่ต้องกังวลเพราะทุกกรณีแพทย์สามารถสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติ และทำการแก้ไขได้ อย่างสุดความสามารถ ขอให้ท่านให้ความร่วมมือในการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ และร่างกาย ก่อนทำการผ่าตัด ทำตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด


สรุป วิธีการรักษามีหลายวิธี อาจจำเป็นจะต้องผ่าตัดหรือไม่ก็ตาม แต่ละโรคก็มีวิธีการรักษาที่ไม่เหมือนกัน ทุกวิธีมีข้อดี ข้อด้อย แตกต่างกัน ท่านสามารถศึกษาหาความรู้ และสอบถามจากแพทย์ของท่านได้ นี่เป็นเพียงประสบการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นกับคนไข้คนนึงเท่านั้น








ข้อควรระวังคือ ถุงน้ำอาจจะแตกได้ คนไข้ส่วนนึงมาโรงพยาบาลเพราะมีอาการปวดจากการแตกของถุงน้ำได้



1 สัปดาห์ ก่อนวันนัดผ่าตัด พยาบาล จากห้องผ่าตัดโทรมา อธิบาย การเตรียมตัว โดยเฉพาะเรื่อง อาหาร
ทำความเข้าใจ และ ให้เรา ถาม คำถาม ที่เราสงสัย




เมื่อจะต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรเตรียมตัว เตรียมใจ อย่างไรดี

การเตรีมผ่าตัดโรคของมะเร็งสืบพันธุ์สตรี ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มดลูก รังไข่ เนื้องอกมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูก การหย่อยยานของมดลูก

การผ่าตัดทางนรีเวชวิทยา อาจเป็นการผ่าตัดทางหน้าท้อง หรือ ทางช่องคลอด

การเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด
1.อาหาร การเตรียมลำไส้ ให้สะอาดก่อนการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อน กากน้อย ก่อนเข้าโรงพยาบาล 7 วันโดยรับประทานในปริมาณปกติที่ทำให้อิ่มได้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังผ่าตัด
ดื่มเครื่องดื่ม (ที่ไม่มีกาก) เสริมได้
เช้าในวันที่มารพ. สามารถ ทานข้าวต้มมาได้ (ยกเว้นในรายที่มีข้อห้าม)
2.ผู้ที่มีโรคประจำตัว ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการทำการผ่าตัด เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด จำเป็นจะต้องได้รับการควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติ เพื่อไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัด และหลังการผ่าตัด จนทำให้เกิดการฟื้นตัวจากการผ่าตัดช้า และต้องนำยาที่ใช้เป็นประจำมาด้วยเนื่องจากยาเหล่านี้อาจต้องใช้จนกระทั่งเข้าห้องผ่าตัด และยาบางชนิดเช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด ยาสเตียรอยด์ บางชนิด ควรหยุด 2 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัด ทั้งนี้ ควรปรึกษากับแพทย์ของท่านด้วย


อาหารอ่อน กากน้อย ย่อยง่าย (ไม่ใส่ผัก)
เช่น โจ๊กใส่ไข่ ไก่บด
ข้าวต้มปลา กุ้ง
ข้าวต้ม หมูหยอง ไข่เจียว ไข่พะโล้
ก๋วยจั๊บ (รับประทานเฉพาะเส้น และ ไข่)
ก๋วยเตี๋ยวน้ำไก่บด ลูกชิ้น


ถึงวันนัด ซะที

12 มกราคม 2552


8.30 น.
ถึงวันนัด ผ่าตัดซะที หลังจาก พบแพทย์ที่ตึกผู้ป่วยนอก ก็ได้รับเป็นผู้ป่วยใน ติดต่อเอกสาร ตรวจสอบสิทธิการรักษา รับป้ายข้อมือที่มีชื่อเรา ลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยใน ก็เดินทางไป ward ทันที

10.00 น.
พยาบาลก็ดี๊ ดี บอกให้เราพักผ่อน สักแป๊บ ให้หายเหนื่อย หลังจากเดินมาไกล มีเอกสาร ต้องกรอกประมาณ 4 ใบ ประกอบด้วย ใบยินยอมรับการรักษา กรณีเป็นเด็ก ก็ให้ผู้ปกครองเซ็นแทนได้ เอกสารขอใบรับรองแพทย์ เพื่อใช้ลางาน หรือ เบิกค่ารักษาจากบริษัทประกัน เอกสารจากบริษัทประกัน




ยังไม่อยากเปลี่ยนชุดเลย อยากออกไปเดินเล่น ไปหอสมุด อ่านหนังสือ ตามประสา พวกไม่อยู่สุข

ได้แต่นั่งเล่น เปิดทีวี ฟังข่าว ออกแบบ ตกแต่ง ห้อง ที่คอนโด เบื่อล่ะ ทำอะไรดี

11.00 น.
เอาล่ะเริ่มต้น เตรียมร่างกาย พยาบาลมาแว้ว มาพร้อมกับยาถ่าย ลักษณะของเหลวหนืดเล็กน้อย คล้ายๆเจล ปริมาณ 80 ซี ซี รสชาติและกลิ่น สุดยอดดดดด ขอบอก ใครที่เคยเกลียดมะระ ตอนนี้จะรู้สึกว่ามะระ มัน หวานมาก กว่าเราจะกล้ำกลืน ฝืนทน กินมันหมด ใช้เวลาตั้ง 15 นาที ต้องกินน้ำตามเยอะๆ ด้วยนะ อ้อ แล้วต้องกินน้ำ เยอะๆ ทุก ชั่วโมงนะ

11.30 น.
อาหารเที่ยงมาแล้วเป็นอาหารเหลว ใส เป็น น้ำซุปผัก น้ำหวาน และ ขนมเยลลี่ ว๊า ไม่หิว ไม่น่ากินเลย ไม่กินดีกว่า

12.30 น.
อยากอ๊วก แทนอยากถ่าย กลิ่นและรสชาติ ยาถ่าย ยังติด อยู่ที่ลิ้นและ คอเลย

13.15 น.
ยาถ่ายเริ่มออกฤทธิ์ รอบแรกก็เหลวเป็นน้ำเลย เพราะก็หน้านี้ ก็เตรียมความพร้อมร่างกาย โดยการ กินอาหาร อ่อน กากน้อย มาล่วงหน้า 5 วัน จริงๆ คุณหมอแนะนำว่า 2 วันก็พอ ด้วยความตั้งใจ เลยแถม ให้ อีก 3 วัน

13.40 น.
รอบที่ 2 เหลวเหมือนฉี่เลย ยังมีกาก อาหาร ปนออกมา ด้วยเลย
14.00 น.
รอบที่ 3 เหลวเหมือนฉี่เลย
14.30 น.
พยาบาลมาเจาะเลือด ไว้ไปเตรียมเลือดจากคลังเลือด ที่ เข้ากันได้กับเลือดเรา เตรียมไว้ ในกรณี ต้องได้รับเลือด ในขณะรับการผ่าตัด
15.08 น.
รอบที่ 4
15.34 น.
รอบที่ 5
16.00 น.
พยาบาลจาก OR มาคุยด้วย น่ารักมาก สงสัยกลัวเรากลัว การผ่าตัด มาอธิบายขั้นตอนกับรายละเอียดการรักษาให้เราฟัง
16.30 น.
รอบที่ 6
ยาถ่ายมาอีกแล้ว อยากจะเอาไปเททิ้ง ไม่ได้สิ ต้องอดทน คราวนี้ เราเอาน้ำหวานที่แอบเก็บไว้ ตอนเที่ยง มาผสม แต่ มันแทบไม่มีประโยชน์เลยไม่สามารถกลบกลิ่นและรสชาติได้ กว่าจะกินหมดรอบนี้ ปาไป ครึ่งชั่วโมง
16.50 น. - 17.12 น.
รอบที่ 7-10 เริ่มไม่มีกากอาหาร ท้องไส้ปั่นป่วน มากเลย เหมือนประจำเดือนจะมา เอ๊ จะได้ ผ่าตัดมั้ยเนี่ย
อาหารเย็น เหลว-ใส อีกมื้อนึง

17.25 น.
นิสิตแพทย์ประจำบ้านภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา วิสํญญีวิทยา และ อายุรศาสตร์ มาช่วยกันประเมินความพร้อมของร่างกาย การตรวจ ร่างกาย ก่อนการผ่าตัด
17.35 น. – 18.10 น.
รอบที่ 11-14 กลายเป็นน้ำสีเหลืองๆ ใสๆ กากอาหารน้อยมากเลย
18.30 น. - 19.20 น.
รอบที่ 15- 18 รอบที่ 18 มีหลักฐานไว้ด้วย
19.30 น.
พยาบาลมาตามไปเตรียมร่างกายเฉพาะที่ กรณีที่ผ่าตัดทางหน้าท้อง โดยเตรียมผิวหนังบริเวณที่ทำการผ่าตัด โดยจะโกนขน ตั้งแต่ใต้ลิ้นปี่จนถึงหน้าขาอ่อนทั้ง 2 ข้าง
ส่วนในกรณีที่มีการผ่าตัดผ่าน ทางช่องคลอด โดยเตรียมผิวหนังบริเวณที่ทำการผ่าตัด โดยจะโกนขน ตั้งแต่ใต้สะดือไปถึงขาอ่อนทั้ง 2 ข้าง

และ การผ่าตัดทั้ง สองวิธี ดังกล่าว จะต้องสวนล้างช่องคลอดเพื่อความสะอาด และลด แบคทีเรียในช่องคลอด และเป็นการป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด ช่วงเย็น และ เช้า ก่อนเข้าห้องผ่าตัดอีกครั้งนึง

การเตรียมร่างกายก่อนผ่าตัด
1.อาบน้ำ





19.58 น.- 20.08 น.
รอบที่ 18-20 มันเหมือนฉี่ นี่เอง

22.00 น.
พยาบาลเอายานอนหลับมาให้ เพื่อจะได้พักผ่อน นอนหลับ สนิท ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องทานยานอนหลับใครที่หลับง่ายไม่ค่อยกังวลก็ไม่จำเป็นต้องกิน เรารู้สึกเหมือนจะหลับแล้วไม่กินดีกว่า เลยอ่านหนังสือเล่น ฟังข่าว ปิดไฟนอนดีกว่า คนเฝ้าเราก็หลับแล้ว
หลับตาดีกว่า

0.30 น.
อ่านหนังสือยังก็ไม่ง่วง มองนาฬิกา มองยานอนหลับ อยากจะกิน แต่เอ๊ เลยเที่ยงคืนแล้ว ต้องงดน้ำ งดอาหาร ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารเข้าไปในหลอดลม หรือคลื่นไส้อาเจียน

ประจำเดือนมันเริ่มมา แล้ว แล้ว จะได้ผ่าตัด มั้ยเนี่ย นี่ถ้าให้กลับมากินยาถ่ายอีกรอบ เนี่ย คงมีการหนีโรงพยาบาลบ้างล่ะ

นอนหลับๆตื่นๆ ตลอดคืน ไม่ง่วง ไม่เพลีย ตื่นเช้ามา อาบน้ำ เตรียมตัว ไปห้องผ่าตัด

8.30 น.
เปลี่ยนเป็นชุด ฆ่าเชื้อเพื่อเข้าห้องผ่าตัด และกินยานอนหลับ(Dormigum mg tabs) เพื่อให้เราคลายกังวล เพราะเราไม่ชอบบรรยากาศการรอบริเวณหน้าห้องผ่าตัดเลย ทุกคนไม่จำเป็นจะต้องกินยานอนหลับก่อนไปห้องผ่าตัดนะ ขึ้นกับสภาวะของคนไข้แต่ละคนด้วย ใครมีความกังวล มาก ก็อาจจำเป็นต้องกิน

9.00 น.
เริ่มง่วงนิดนึง พยาบาลเอาที่กั้นเตียง ขึ้นมากันเราตก รอบคอบดีจัง

9.05 น.
ไป OR

9.15 น.
วิสํญญีแพทย์ มาเจาะเส้นเลือด ให้น้ำเกลือ


10.00 น.
เข้าห้องผ่าตัด เราก็แค่รู้สึกง่วงๆนิดหน่อย
บริเวณศรีษะทางขวา มีเครื่องดมยาสลบอยู่ วิสัญญีแพทย์กำลังเตรียมเครื่องอยู่
บริเวณศรีษะทางซ้าย มีเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดัน อยู่ เริ่มติดเรื่องมือกับตัวเรา
บริเวณปลายเท้าทางซ้ายมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับการส่องกล้องผ่าตัดอยู่ เห็นถังแกสคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย


10.10 น.
คุณหมอคนเก่งมาแล้ว เดินมาทางด้านซ้ายของเรา เราหันไปสวัสดีแล้วบอกว่า ประจำเดือนมันมาค่ะ ได้ยินคุณหมอตอบว่าไม่เป็นไรค่ะ คาดว่าพยายาลจาก ward น่าจะรายงานแล้ว ยานอนหลับเริ่มออกฤทธิ์ เราก็ง่วงๆ สักพัก
เงยหน้ามาเห็น O2 mask กับหน้าวิสัญญีแพทย์รางๆ แล้วเราก็หลับไป

12.10 น.
คุณ ....... ค่ะ เสียงพยาบาลปลุก ที่ห้อง recovery room เสียงจากไหนนะ เสียงหวานเชียว กำลังสลึมสลือหลับๆตื่นๆอยู่ประมาณ 20 นาที เจ็บคอนิดเดียวจากการใส่ท่อช่วยหายใจ ปวดแผลนิดนึง เวียนหัวเล็กน้อย ไม่คลื่นไส้
สักพักพยาบาลเอายาแก้ปวด(Morphine) มาฉีดให้ทางน้ำเกลือ ได้เวลาเดินทางกลับ ward


หลังการผ่าตัด บางคนอาจมี อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ
อาจมีอาการปวดไหล่ เล็กน้อย ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงจากการใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป่าลงไปในช่องท้องเพื่อให้เห็นอวัยวะภายในช่องท้องชัดเจน และมีพื้นที่ทำงาน
ถ้าแบ่งความปวดด้วยความรู้สึกของตัวเอง โดยมีระดับ1-10 ไม่ปวดเลยได้ระดับหนึ่ง ปวดมากที่สุดได้ระดับ 10 ตอนนี้ เราให้ระดับอาการปวดเท่ากับ 2



12.25 น.
กลับมาถึง ward คำถามแรกที่ถามพยาบาลคือมีสายสวนปัสสาวะติดมาด้วยหรือไม่ คำตอบคือ ไม่มีค่ะ
ทำซ่าอยากลุกขึ้น รู้สึกเวียนหัวหน่อยเดียว พยาบาลกับน้าห้ามไว้ บอกว่ารอตอนเย็นๆล่ะกัน
ได้ยาแก้ปวดทางน้ำเกลืออีกครั้ง ระดับการปวด ลดลงไปเหลือ 0-1

15.00 น.
ลุกไปห้องน้ำ ยังเป็นชุดจากห้องผ่าตัดอยู่เลย ยังขี้เกียจเปลี่ยน เดี๋ยวก่อนนะ

17.00น.
เปลี่ยนชุดคนไข้สีฟ้าๆ กะผ้าถุงตัวใหญ่ๆ มีญาติมาเยี่ยมเต็มห้องเลย แหมของฝากเยอะนะ กินไม่ได้สักอย่าง
ดีนะที่ไม่อยากกินอะไรเลย นึกถึงตอนกินยาถ่ายก็ไม่อยากกินอะไรลงกระเพาะไปอีกนาน

อ่านหนังสือ โชว์พุง กะ อธิบาย ที่คุณหมอเล่ามา คำถามที่ เกือบทุกคนถาม เอาออกมาได้งัย รูแค่ เซน เดียว
นั่นสิเราก็อยากรู้เหมือนกัน


19.00 น.
พยาบาลมาฉีดยาปฏิชีวนะ ทางเส้นเลือด น้ำเกลือหมดแล้ว 1 ขวด เปลี่ยนขวดใหม่ เริ่มจิบน้ำได้แล้วนะ

21.00 น.
น้องรักมาแว้ววว
สั่งของไปเพียบเลย แม้กระทั่งหมอนกับกางเกงนอน รีบเปลี่ยนกางเกง ก็ใส่ผ้าถุงไม่เป็นอ่ะ ก็ลมมันเย็น
ไม่ง่วงเลย สักพัก ญาติๆ ทยอยกลับ ดูทีวี ดูข่าว อ่านหนังสือ คนเฝ้าหลับไปแล้ว กรนด้วย แอบถ่ายรูปไว้ เรายัง
ไม่ง่วงเลย อ่านหนังสือไปเรื่อยๆ จนกระทั่งดึก หลับๆตื่นๆ ไปตลอด คืน แต่ไม่ ง่วง ไม่เพลียเลยนะ ลุกไปเข้าห้องน้ำประมาณ 2 ครั้ง ไปเองได้ ไม่ต้องปลุก ใครน้ำเกลือไปเข้าห้องน้ำด้วย


05.00 น.
พยาบาลมาฉีดยาปฏิชีวนะ ทางเส้นเลือด เสร็จแล้วก็เอา น้ำเกลือออก


จากนั้นก็ อ่านหนังสือ ดูทีวี ฟังข่าว เขียนต้นฉบับ



ได้ยินเสียงคล้ายท้องร้อง นั่นละ อย่าเพิ่งทานอะไรนะ เพราะเมื่อมีการผ่าตัดช่องท้อง ลำไส้จะหยุดการทำงานไประยะหนึ่ง จนกว่าคุณหมอจะเอาฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ผ่านหูฟัง เสียงของกระเพาะกับลำไส้กำลังเริ่มทำงาน มีผายลม2-3 ครั้ง แล้ว ดีนะ มีแต่ลม ยังไม่มีกลิ่น เราก็สามารถเริ่มจิบน้ำ ทานอาหารเหลว -ข้น - อ่อน ได้ ระวังท้องอืด อย่ากินเยอะนะ






ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัด ภายใน 24 ชม.






7.45 น.
คุณหมอคนเก่งมาเยี่ยม แต่เช้าเลย คุณหมอใจดี อธิบายเราอีกเพียบเลย เช่น ทำไมมี 4 รู รูด้านซ้ายใหญ่หน่อยนะ 1 เซน แล้วกับคำถามยอดฮิต ที่ใครๆก็ถามเราว่า รู 1 เซน ถุงน้ำ 4*6 เซน จะเอาออกยังงัย อยากรู้ใช่มั้ย??????
ต่ำแหน่งที่ตั้ง สัมพันธ์กับท่อนำไข่และรังไข่อย่างไร ขนาด ประมาณ 4*6 ซม. ไม่สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม
มดลูกยังดูปกติดี ปีกมดลูกก็ยังปกติ ดี น่าจะมีลูกได้นะ แล้วจะแต่งงานเมื่อไหร่เนี่ย?????????????
โห คำถามนี้ตอบยากมากเลย เราใช้ชีวิตอิสระแบบนี้มานาน ทำเหมือนโสดแต่ไม่โสด แล้วกับคนที่แตกต่างกับเราทุกๆอย่างจะอยู่ด้วยกันตลอดชีวิตได้อย่างไร เราเองก็ยังไม่มั่นใจ
จากนั้นคุณหมออธิบายถึงตำแหน่งในการยืนของคุณหมอ และพยาบาล ในขณะผ่าตัด
พักผ่อนสัก 1 เดือนพอมั้ย โห ตายล่ะ เราว่าเราหายแล้วนะเนี่ย อยากกลับไปทำงานแล้ว
โรคนี้ก็ไม่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งทรวงอก (คุณยายเรา เสียชีวิตด้วยโรคนี้ เราก็กลัวๆอยู่เหมือนกัน)
แต่อาจสัมพันธ์กับการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ









9.15 น.
อาหารมื้อแรกหลังผ่าตัด เป็นอาหาร ชนิด เหลว-ข้น ประกอบด้วย โอวัลตินร้อน ซุปครีมข้น น้ำผลไม้ และ ไข่ต้ม จิบโอวัลตินไปหน่อยเดียว อยากกลับบ้านแล้ว ให้น้องไปรอเอกสาร จ่ายตังค์ และต้องรีบโทรศัพท์ กับส่ง Massage ไปบอกบรรดา พี่ๆ น้องๆ ร่วมอาชีพ ที่จะมาวันนี้ พรุ่งนี้ และวันศุกร์ ว่าไม่ต้องมา เหลือรายเดียว น้องรหัส ที่รัก บอกว่า ใกล้จะมาถึงแล้ว ขนของฝากมาแล้วด้วย โอเค รอก็ได้ 10 โมง เจอกันนะ
ระดับอาการปวดตอนนี้ เท่ากับ 0


10.00 น.
น้องรหัสมาพร้อมเสื้อ กะ Scott รังนก โชว์พุงให้ดู คุยกันพักหนึ่ง ก็ได้เวลาพร้อมกลับบ้าน คราวนี้ได้ที ใช้คนอื่นใหญ่เลย ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ ก็คุณหมอห้ามยกของหนัก ขนของใส่รถเข็น กลับบ้านซะที

ยาที่ได้รับกลับบ้าน
1.Dioxzye( Simethicone,sugar free) 80 มก. 20 เม็ด
เคี้ยว ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น
เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ(ยาตัวเดียวกับ Air X )
2.Arcoxia (EtoricoxibX) 120 มก. 5 เม็ด
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครัง หลังอาหารเช้า
ควรรับประทานยานี้หลังอาหารทันที
ยาแก้ปวด ลดการอักเสบ
3.Siamox( Amoxycillin) 500 มก. 30 แคปซูล
รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครัง หลังอาหารเช้า เย็น
รับประทานติดต่อกันจนหมด
ยาแก้อักเสบ ฆ่าเชื้อ


ยาหลังอาหาร
ควรรับประทานหลังอาหาร 15 นาที ถึงครึ่งชั่วโมง
ยาปฎิชีวนะ
ควรรับประทานให้หมดเพราะ หากท่านทานไม่หมดแล้ว ครั้งต่อไปที่ท่านจำเป็นจะต้องได้รับยาตัวนี้ในการรักษา เชื้อก็จะดื้อยา ยาชนิดนี้ก็จะไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาอีกต่อไป ต้องเปลี่ยนไปใช้ตัวยาชนิดอื่น ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นและรักษายากขึ้นไปเรื่อยๆ ยกเว้น ท่านมีอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นขึ้นตามตัว มีจ้ำที่ผิวหนังหน้ามืด แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือ ใจสั่น ให้หยุดยา และนำยานั้นมาปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ทันที และไม่เก็บยาไว้ในที่อับชื้นหรือแสงแดดส่องถึง






ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัด 24-48 ชม.




ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัด 2-4 สัปดาห์
ข้อห้ามหลังการผ่าตัด
ห้ามยกของหนัก



11.00 น.
กลับมาบ้าน ไล่ทุกคนให้ไปทำงานหมดเลย เสียเวลากับเรามาเยอะละ วันนี้เลยอยู่บ้านคนเดียว
เริ่มหิวแล้ว ทานน้ำเต้าหู้ ขนมปังไส้กรอก ไม่มียามื้อกลางวันนี่นา แล้วก็ไม่ปวด เลยไม่ต้องกินยาแก้ปวด
ไม่ต้องทานเยอะ ท้องก็จะได้ไม่อืดค่ะ


24 ชม.หลังผ่าตัด

48 ชม.หลังผ่าตัด






1 สัปดาห์ หลังผ่าตัด


2 สัปดาห์ หลังผ่าตัด

1 เดือน หลังผ่าตัด

คำแนะนำ
1.ทำตามคำแนะนำของคุณหมอ และ พยาบาล อย่างเคร่งครัด อดทนนิดนึงนะคะ
2.เชื่อมั่นและไว้ใจ กับแผนการรักษาหลังจากที่เราได้ข้อมูลต่างๆอย่างครบถ้วนแล้ว เรามีสิทธิที่จะหาความรู้ เกี่ยวกับโรค วิธีการรักษากับแพทย์มากกว่า 1 ท่านเพื่อประกอบการตัดสินใจได้
3.การออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ท่านฟื้นตัวเร็วยิ่งขึ้น


สำหรับเรา สิ่งที่รู้สึกแย่สุดๆ คือ การกินยาถ่าย ทั้งกลิ่นและรสชาติ หลังจากเราหายแล้ว มะระขี้นกที่เราเกลียดนักเกลียดหนา กลายเป็นว่าเราทานมันได้ง่ายขึ้นมาก ก็นึกซะดี ดีแล้ว นึกว่า มาทำดีทอกซ์ ละกัน กำลังอินเทรนด์ พอดี
การเจาะเลือด น่ากลัวกว่า การผ่าตัดแบบนี้ซะอีก แต่เราก็เป็นคนไข้ที่ไม่ดีเลย เกิดอาการเกร็งทุกครั้งเมื่อโดนเจาะเลือด ก็มันกลัวนี่นา ห้ามไม่ได้หรอก สำหรับอาการปวดหลังผ่าตัด เกิดน้อยมาก ปวดน้อยกว่าไปเล่นโยคะหรือฟิตเนส เป็นสิบเท่าเลย



นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของขั้นตอนและวิธีการรักษาเท่านั้น กรณีรอยโรคอื่นๆจะมีปัจจัยมากมายทั้งอาการ พยาธิสภาพ ขนาด ตำแหน่ง ที่ต่างกัน ฉะนั้น การวางแผนการรักษาและวิธีการรักษาจึงอาจแตกต่างกัน โปรดสอบถามรายละเอียดจากแพทย์ของท่าน เพราะไม่จำเป็นว่าโรคชนิดเดียวกันหรือคล้ายๆกัน จะมีวิธีรักษาเหมือนกัน


สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่าน ดูแลสุขภาพร่างกาย หากมีความผิดปกติที่เกิดขึ้น โปรดอย่าอาย กรุณาไปพบแพทย์ ให้เร็วที่สุด เพื่อขอคำปรึกษา ให้ข้อมูลเป็นจริงทุกอย่างเพื่อได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว เชื่อมั่นในการรักษา ทำตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล การรักษาได้อย่างทันท่วงที ก็จะทำให้ท่านกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ต้องต้องทนทุกข์ทรมานทั้งกายและใจอีกต่อไป



ขอขอบคุณ

อ.พญ. ทัศน์วรรณ รังรักษ์ศิริวร
นิสิตแพทย์ประจำบ้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา วิสํญญีวิทยา และ อายุรศาสตร์
พยาบาล ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่ ห้องผ่าตัด
พยาบาล ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่ หอผู้ป่วย ตึก นวมินทราชินี 9
พยาบาล ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่ คลินิก นรีเวชกรรม ภปร 7 , 8
พยาบาล ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่ คลินิก พิเศษ ภปร 13

















อยากทราบมั้ยว่า
1.ถุงน้ำ ขนาด 4*6 ซม. แต่แผลที่ใหญ่สุด ขนาด 1 ซม. แล้ว คุณหมอ เอาออกได้อย่างไร




2. การที่สารบ่งชี้เซลมะเร็งมีค่าสูงกว่าค่าปกติ ไม่ได้หมายความว่าจะ เป็นมะเร็งเสมอไป
สารบ่งชี้เซลมะเร็ง CA 125
ในผู้ป่วยอายุน้อย ไม่สามารถบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งได้ เนื่องจาก สามารถพบ CA 125 เพิ่มขึ้นในกรณี ที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เนื้องอกชนิด เดอมอยด์ การตั้งครรภ์ หรือ ปีกมดลูกอักเสบ




3. Dermoid cyst


เมื่อเราหายดีแล้วเราก็จะได้มีกำลังใจ ในการรักษาคนไข้ของเราต่อไป

ส่งความรู้สึกดีๆเหล่านี้ไปเรื่อยๆ โลกใบนี้ของเราจะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้น




ขอมอบเงินรายได้ทั้งหมดให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นกองทุนในการรักษาคนไข้ยากจนต่อไป เพราะเราได้คุยกับคนๆหนึ่งในขณะที่รอหน้าห้องตรวจวันก่อนผ่าตัด เธอทราบว่าเธอมีผังผืดที่มดลูกมานาน 3-4 ปีแล้ว
เมื่อเธอทราบว่าค่ารักษาประมาณ 2 หมื่นบาท และเธอไม่มีสิทธิใดๆในการรักษาเลย เธอเลือกที่จะหนีไป จนกระทั่งวันนี้อาการของเธอรุนแรงขึ้น มีเลือดออกตลอดเวลา เธอเลยกลับมาอีกครั้ง ทั้งๆที่การหนีไปไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น มีแต่อาการแย่ลงและรักษายากขึ้น นั่นเป็นเพราะการไม่มีเงินรักษาตัว สงสารเธอจัง คงมีคนแบบนี้อีก ลำพังตัวเราคงไม่มีปัญหา แต่คนอื่นสิ เราจะช่วยเขากันได้อย่างไรดี ??????????

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากคะ ตอนแรกคิดว่าจะเขียนรายละเอียดการผ่าตัดของตนเองแต่พอพบข้อมูลข้างต้นนี้ละเอียดมากมีประโยชน์มาก รู้สึกขอบคุณมากคะสำหรับความเสียสละแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้ทุกคนทราบ
    ตนเองเพิ่งผ่านการผ่าตัดส่องกล้องมาได้ 5 วันคะตอนนี้สบายดีคะสามารถนั่งตอบ email ได้คะ แต่พูดมากเหนื่อยคะ ลมเข้าท้องมั้งคะ
    ระพีพร ศรีจำปา

    ตอบลบ
  2. คุณหมอวินิจฉัยว่าน่าจะเป็น dermoid cyst คะ
    จะผ่าตัดมะรืนนี้ อ่าน review แล้วรู้สึกสบายใจขึ้นเยอะ
    หลังจากกังวลมากคะ ขอบคุณมากนะคะ

    ตอบลบ